
เปิดรับสมัครผู้เรียนหลักสูตรฝึกอบรม (UP-Training) หลักสูตร "การประยุกต์ใช้โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (ATLAS.ti) เพื่อการวิจัยทางการบริหารการศึกษา"
อ่าน 11 ครั้ง
วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยพะเยา
อ่าน 11 ครั้ง
วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยพะเยา
มหาวิทยาลัยพะเยา โดยสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ร่วมกับ วิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพฯ เปิดรับสมัครผู้เรียนหลักสูตรฝึกอบรม (UP-Training)
หลักสูตร "การประยุกต์ใช้โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (ATLAS.ti) เพื่อการวิจัยทางการบริหารการศึกษา"
Applying Qualitative Data Analysis Software (ATLAS.ti) for Educational Administration Research.
วิทยากรโดย ดร.ชุณวัฒน์ ปุงบางกระดี่
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักการของหลักสูตร
เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา นิสิตระดับบัณฑิตฑิตศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจในการวิจัยทางการบริหารการศึกษาให้มีสมรรถนะด้านการวิจัยเชิงคุณภาพ และทักษะในการใช้โปรแกรม ATLAS.ti สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ผู้เข้ารับการอบรมจะสามารถนำทักษะที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการวิจัยทางการศึกษาเพื่อพัฒนา การเรียนการสอน การบริหารจัดการภายในสถานศึกษา รวมถึง สามารถใช้เป็นผลงานวิจัยเพื่อการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) ได้อย่างมีประสิทธิผล วันที่ฝึกอบรม : วันที่ 12-13 มิถุนายน 2568
สถานที่ฝึกอบรม : วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา อาคารเวฟเพลส ชั้น 8 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ค่าสมัคร : ท่านละ 3,500 บาท (ค่าสมัครไม่รวมค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าที่พักของผู้เข้าอบรม)
ลงทะเบียนเข้าร่วมอบรม ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2568 ได้ที่ https://forms.office.com/r/E94zCc7FCN
ตรวจสอบรายละเอียดหลักสูตร ได้ที่ https://academy.up.ac.th/pages/course_detail/194
ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes)
1. ผู้เข้าอบรมอธิบายหลักการและแนวคิดการวิจัยเชิงคุณภาพ รวมถึงการเลือกใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมกับบริบทของการวิจัยทางการบริหารการศึกษา
2. ผู้เข้าอบรมอธิบายหลักการและแนวคิดการสร้างเครื่องมือ และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพที่เหมาะสมกับบริบทของการวิจัยทางการบริหารการศึกษา
3. ผู้เข้าอบรมวิเคราะห์และเลือกใช้กระบวนการเข้ารหัสข้อมูล (Coding Process) ทั้งแบบนิรนัย (Deductive Coding) แบบอุปนัย (Inductive Coding) และการวิเคราะห์ธีม (Thematic Analysis)
ได้อย่างถูกต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
4. ผู้เข้าอบรมใช้โปรแกรม ATLAS.ti ในกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมไฟล์ข้อมูล การจัดการเอกสาร การเข้ารหัส การสร้างหมวดหมู่ข้อมูล ไปจนถึงการสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องและเป็นระบบ
5. ผู้เข้าอบรมสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้สอดคล้องกับประเด็นวิจัย โดยตระหนักถึงจรรยาบรรณการวิจัยในมนุษย์ การรับรองผลการฝึกอบรม
ผู้เรียนต้องเข้าชั้นเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และมีผลคะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จึงจะผ่านการเรียนในหลักสูตรนี้ และได้รับเกียรติบัตรรับรองการฝึกอบรมจากมหาวิทยาลัยพะเยา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศดิจิทัล
สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา
0 5446 6666 ต่อ 3543, 3531